วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

มามามาเรียนรู้ประวัติลอยกระทงกันเถอะ

ประวัติความเป็นมาประเพณีลอยกระทง ลอยกระทง (Loi Krathong Day) เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย การลอยกระทง ตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า "ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง" ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ โดยเฉพาะ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุด ที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคม บนท้องฟ้า พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามมากทีเดียว เรื่องน่ารู้ใน วันลอยกระทง คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทง คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้ 1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา 2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร 3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา 4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ 5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า 6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก 7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ประวัติการลอยกระทงในเมืองไทย การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีปหรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา การลอยกระทงในปัจจุบัน การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 12 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้กระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ เหตุผลของการลอยกระทง สรุปเหตุผลของการลอยกระทงในประเทศไทยดังนี้ 1. เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยนำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในนำด้วย 2. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิาฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย 3. เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์ 4. เพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแกพระอุปคุตอย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้ การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ เช่น ใบตอง การกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ จุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่นำลำคลอง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเทศกาล "สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง" เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายน นอกจากจะมีกิจกรรมเด่น ในหลายพื้นที่ เช่น งานลอยกระทงกรุงเทพมหานคร, ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย, ประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่, ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงฯ จังหวัดตาก และประเพณี ลอยกระทงตามประทีป จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้แล้วยังเป็นการส่งเสริมประชาสัมพันธ์งานประเพณีลอยกระทงให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ (World Events) เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเดินทางของนักท่องเที่ยวตลอดเดือนต่อไป วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ประเพณี อันดีงามของไทย(โดยเฉพาะประเพณีลอยกระทงของแต่ละท้องถิ่น) ไว้สืบทอดต่อไป ๒. เพื่อส่งเสริมให้งานประเพณีลอยกระทง เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว โดยสามารถนำเสนอในรายการนำเที่ยวเป็นประจำทุกปี ในอนาคตอย่างยั่งยืน ๓. เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวและรายได้ พร้อมทั้งขยายวันพักของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ๔. เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระแสการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศในช่วงเทศกาลประเพณีลอยกระทง และการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดเดือนพฤศจิกายน ที่มา: http://www.loikrathong.net/th/History.php

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


วิวิธภาษาม.2เรื่องพอใจให้สุข

 ในบทที่9พอใจให้สุข
                                                               พอใจให้สุข
              แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม                       ก็จงยอมเพียงลดาขาว
แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว                            จงเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา         
                 แม้มิได้เป็นหงส์ทะนงศักดิ์                        ก็จงรักเป็นโนรีที่หรรษา
แม้มิได้เป็นแม่น้ำแม่คงคา                              จงเป็นธาราใสที่ไหลเย็น
                 แม้มิได้เป็นมหาหิมาลัย                                จงพอใจจอมปลวกที่แลเห็น
แม้มิได้เป็นวันพระจันทร์เพ็ญ                        ก็จงเป็นวันแรมที่แจ่มจาง
                  แม้มิได้เป็นต้นสนระหง                            จงเป็นพงอ้อสะบัดไม่ขัดขวาง
แม้มิได้เป็นนุชสุดสะอาง                                จงเป็นนางที่ไม่ใช้ไร้ความดี
                   อันจะเป็นสิ่งใดไม่ประหลาด                      กำเนิดชาติดีทรามตามวิธี
ถือสันโดษบำเพ็ญให้เด่นดี                                          ในสิ่งที่เราเป็นเช่นนั้นเทอญ

ข้อคิดจากเรื่อง                                                                                                                                                       
                      พอใจให้สุข     เป็นชื่อบทกลอนที่ศาสตราจารย์กิตติคุณฐะปะนีย์ นาครทรรพ                             
ประพันธ์ขึ้นพ.ศ.2428เมื่อมีอายุ18ปีเป็นกลอนสุภาพที่มีความยาว5บทเนื้อความเป็นคำสอน
ผู้หญิงให้มีความพอใจกับความเป็นกันเองตามกำเนิดและตามสภาพที่ตนเป็นแต่ที่สำคัญคือ
ต้องปฏิบัติตนเป็นคนเด่นในความ                                                                                                                                                                            
                      พอใจให้สุข        มีความหมายชัดเจนว่าความพอใจกับกำเนิดและฐานะของ                                            
ตนนั้นทำให้คนเป็นสุข  หากพิจารณาให้ชัดเจนว่าจุดมุ้งหมายของผู้ประพันธ์มิได้ให้พอใจ                
กับสภาพที่ดำรงอยู่ตลอดไปเท่านั้น  เพราะคำเปรียบที่ยกขึ้นในแต่ละวรรคให้ข้อคิดแก่ผู้อ่าน    
ว่า  ให้ตั้งใจพัฒนาตน ม่ชุ่งมั้น ไปสู่สิ่งที่สูงที่มีค่าหรือ ที่ยิ่งใหญ่กว่าที่เป็นอยู่  แต่ถ้าแม้ว่าเป็นไม่ได้ก็จงพอใจเท่าที่เราเป็นได้  และที่เราควรเป็นมากที่สุดคือ  ผู้มีความดี และบำเพ็ญตน
ให้เด่นในความดี
                         ความรู้เรื่องกลอน   
          เชื่อกันว่า  กลอน  เป็นคำประพันธ์ที่คนไทยมีมาแต่เดิม  ชาวบ้านในภาคกลางและภาคใต้นิยมแต่งกลอนเป็นบทร้องเล่น  บทกล่อมเด็ก  และเพลงพื้นบ้านต่างๆ กลอนมีพัฒนาการมาเป็นลำดับจนมีข้อบังคับทางฉันลักษณ์ที่แน่นอนในปัจจุบัน เป็นคำประพันธ์ ที่บังคับจำนวนคำ จำนวนวรรค สัมผัส และเสียงวรรณยุกต์ กลอนมีประเภทย่อยซึ่งมีชื่อต่างกันไปตามลักษณะย่อย ช่น กลอนแปด กลอนหก กลอนสี่ กลอนสักวา กลอนดอกสร้อย กลอนบทละคร  เป็นต็น  บทกลอนเรื่อง  พอใจให้สุข  เป็นคำประพันธ์ประเภทกลอนแปด
               ลักษณะต่างๆของกลอน
๑)    บทและบาท
  กลอน ๑ บท มี ๒ บรรทัด  แต่ละบรรทัดเรียกว่า บาท หรือ  คำกลอน  บาทที่๑ของกลอน  เรียกว่า บาทเอก ส่วนบาทที่สองเรียกว่าบาทโท  กลอนบาทหนึ่งมี  ๒ วรรค
กลอนบทหนึ่งจึงมี  ๔วรรค

 แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม        ก็จงยอมเป็นเพียงลดดาขาว    (บาทเอก)
แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว           จงเป็นดาวดวงแจ่มแอน่มตา    (บาทโท)
           
๒)จำนวนวรรค
      กลอน  ๑บท มี ๔วรรค  แต่ละวรรคมีชื่อดังนี้วรรคที่๑เรียกว่า  วรรคสดับ     วรรคที่๒เรียกว่วรรคับ                                                                                                                                                    
วรรคที่๓เรียกว่า   วรรครอง      วรรคที่๔เรียกว่าวรรคส่ง                                                                                                                                                                                      
เช่น                                                                                                                                 
แม้มิได้เป็นหงส์ทะนงสักดิ์(วรรคสดับ)         ก็จงรักเป็นดนรีที่หรรษา(วรรครับ)                                                                                                                             
แม้ไม่ได้เป็นแม่น้ำคงคา(วรรครอง)              จงเป็นธาราที่ไหลเย็น   (วรรคส่ง)                                                                                                                                                  
                              ๓)จำนวนคำและจังหวะการอ่าน                                                                                                                                  
                            คำว่า  คำ  ในกลอนมีความหมายเฉพาะ   หมายถึง   จำนวนพยางค์ในแต่ละวรรคเช่นกลอนหกคือกลอนที่กำหนดให้วรรค๑มี๖คำหรือหกพยางค์กลอนแปด  คือ  กลอนที่กำหนดให้วรรคหนึ่งมี๘คำหรือแปดพยางค์ในกลอนบทละคร  คำ  ยังมีอีกความหมายหนึ่ง  หมายถึงบาทหรือคำกลอน                                             
๔)สัมผัส                                                                                                                                                    
คำว่าสัมผัส   ในคำประพันธ์หมายถึงคำ๒คำ(หรือ๒พยางค์)ที่มีเสียงสระเสียงเดียวกัน ตา- หรรษา  หิมาลัย-พอใจ  วิถี-เด่นดี-ที่  หรือคำ๒คำที่ประสบกับเสียงสระและเสียงสะกดแม่เดียวกัน  เช่น  หอม-ยอม ขาว-สกาว-ดาว  แจ่ม-แอร่ม  ศักดิ์-รัก ขัดขวาง-สะอาง สัมผัสแบบนี้เรยกว่า สัมผสสระ
       ในคำประพันธ์มีสัมผัสอีกแบบหนึ่งเรียกว่า สัมผัสพยัญชนะ หมายถึงคำ2 คำหรือหลายคำที่มีเสียงพยัญชณะต้นเป็นเสียงเดียวกัน  เป็นลักษณะที่กวีมักใช้เพื่อเพิ่มความไพเราะให้แก่บทกลอน  ไม่ใช้สัมผัสบังคับ   สัมผัสพยัญชณะอาจปรากฏในวรรคเดียวกันหรือต่างบทก็ได้ เช่นลางลิงลิงลอดเลี้ยวลางลิงแลลูกลิงชิงลูกไม้                                                                                                                                                        
              สัมผัสในบทกลอนมีทั้งสัมผัสบังคับและสัมผัสไม่บังคับ                                                                        
                                                                                                                                                                             
        สัมผัสบังคับมี๒ประเภทคือสัมผัสนอก กับสัมผัสระหว่างบท                                                                                
           สัมผัสนอกคือสัมผัสสระของคำที่อยู่ต่างวรรคกัน  กลอนบทหนึ่งๆมีสัมผัสนอกบังคับ๓แห่งคือ                    
                     แห่งที่๑คำสุดท้ายของววรรคสดับ(วรรคที่๑)สัมผัสกับท้ายของช่วงที่๑หรือ๒ในวรรครับ(วรรคที่๒)                                                                                                                                                            
                                                                                                                                                                                   
                  แห่งที่๒คำสุดท้ายของวรรครับ(วรรคที่๒)  สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครอง   (วรรคที่๓)แล้วส่งต่อไปวรรคที่๓
               

                            สัมผัสระหว่างบท  คือ   สัมผัสสระที่ส่งต่อจากคำสุดท้ายของบทไปยังคำสุดท้ายในวรรครับ    (วรรคที่๒)   ขิองบทถัดไป     ชึ้งสัมผัสที่ทำให้กลอนเชื่อมต่อกันโดยตลอด                                        
                                                                                                                                                                         
              สัมผัสไม่บังคับ  คือ    สัมผัสสระหรือสัมผัสพยัญชณะที่อยู่ในแต่ละวรรคเพื่อเพิ่มความไพเราะให้แก่บทกลอน                                                                                                                                                        
                                                                                                                                                                               
                                                                                                                                                                                       
           ๕)ข้อควรระหว่างในการแต่งกลอน                                                                                                            
                                                                                                                                                                                               
              ก.เสียงวรรณยุตย์
     
     ฉันทลักษณ์กลอนไม่มีขอกำหนดเรื่องวรรณยุกต์  แต่มีข้อสังเกตว่า หากมีขอกำหนดคำที่มีเสียงวรรณ์ยุกค์ได้ตามที่แนะนำนี้  กลอนจะไฟชพเราะ  หากใช้เสียงที่ไม่แนะนำ กลอนจะฟังประหลาดแลไม่เป็นกลอน ดังนี้
                                                                                                                                                                               
                     คำท้ายวรรคที่๑   ใช้เสียงวรรณยุตย์ใดก็ได้                                                                          
                                                                                                                                                                                                     
                      คำท้ายวรรคที่๒   ใช้เสียงวรรณยูตย์เอก  โท  หรือจัตวาไม่ใช้เสียงวรรณยุตญ์เอกโทหรือจัตวาและไม่ใช้  เสียงวรรณยุกต์ช้ำกับเสียงวรรณยุกย์สามัญหรือเสียงตรี                                                        
                                                                                                                                                                             
                          คำท้ายวรรคที่๓ใช้เสียงวรรณยุกต์หรือตรีไม่ใช้เสียงวรรณยุกต์เอก โท หรือจัตวา และ ไม้ใช้เสียงวรรณยุกต์ช้ำกับเสียงวรรณยุกต์ของคำท้ายวรรคที่๒                                                                                
                                                                                                                                                                         
                       คำท้ายวรรคที่๔ใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญหรือตรีไม่ใช้เสียงวรรณยุกต์เอก โท  หรือจัตวา                  
                                                                                                                                                                                                           
                 ข.สัมผัส

   ๑สัมผัสช้ำเสียงคือรับและสัมผัสด้วยคำที่ออกเสียงเหมือนกัน                              


   ๒สัมผัสเลือน  คือ  รับและส่งด้วยเสียงสระสั้นยาวต่างกัน


               ๓ชิงสัมผัส  คือ  ใช้เสียงส่งสัมผัสก่อนต่ำแหน่งที่รับสัมผัสจริง

                 ตัวอย่างเช่น   แต่งคำกลอนว่า
 
          แต่งคำกลอนบอกแจ้งความในใจ      ที่มีไว้เพื่อให้เธอเล็งเห็น
         แม้จะเขียนให้อ่านแล่นก็อยากเย็น     พี่ไม่เว้นพารเพียรเขียนเพื่อเธอ
  คำที่ส่งสัมผัสในวรรคที่๑  คือใจส่งไปให้รับสัมผัสกับคำที่๕ในวรรคที่๒ คือ ให้แต่มีคำว่าไว้ มาชิงสัมผัสก่อน
          และคำส่งสัมผัสในวรรคที่๒ ว่าเห็นส่งสัมผัสไปคำสุดท้าย วรคที่๓คือ เย็ฯ แต่มีคำว่าเล่น มาชิงสัมผัสก่อน ทำให้กลอนไม่เป็นกลอนควรแก้เป็น

                แต่งคำกลอนบอกความในใจ             ที่ร้อนรุ่มเพื่อให้เธอเล็กเห็น                            

               แม้จะเขียนลำบากแสนอยากเย็น          พี่ไม่เว้นพากเพียรเขียนเพื่อเธอ                                                                                                                                                                
                                                                                                                                                                                           
      กลอนประเภทต่างๆ


      ๑กลอนเเปด

              กลอนแปด  อาจเรียกว่า   กลอนสุภาพ  หรือกลอนตลาดก็ได้ ถ้าแต่งเป็นเรื่องนิทานเพื่ออ่านเล่น  ก็เรียกว่ากลอนนิทาน  เช่นเรื่องโคบุตร  พระอภัยมณี                                    
 
            นิราศบาทขึ้นต้นว่า                              

                                          โอ้อาลัยใจหายเป็นห่วงหวง
       ดังศรศักดิ์ปักซ้ำระกำทรวงเสียดายดวงจันทราพะงางาม
เจ้าคุมแค้นแสนโกรธพิโรธพี่แต่เดือนยี่จนย่างเข้าเดือนสาม
จนพระหน่อสุริย์วงศ์ทรงพระนามจากอารามแรมร้างทางกันดาร
ด้วยเรียมรองมุลิกาเป็นข้าบาทจำนิราศร้างนุชสุดสงสาร
ตามเสด็จเสร็จโดยแดนกันดารนมัสการรอยบาทพระศาสดา ๚
         สุภาษิตสอนหญิง ขึ้นต้นว่า

                                                                          ประนมหัตถ์นมัสการขึ้นเหนือเศียร

               ต่างประเทียบโกสุมประทุมเทียน        จำนงเนียนนบบาทพระศาสดา

       กลอนเพลงยาวขึ้นต้นว่า      

                                                                                            เสียแรงหวังใจมุ่งผดุงหวัง
       
ไม่ควรชังฤามารานพานชิงชัง                                              เออเป็นใจเออใครมั่งไม่น้อยใจ


        ๒กลอนหก

      กลอนหกคือกลอนที่แต่งแต่ละวรรคมีจำนวน๖คำหรือ๖พยางค์
               
             
                   ความดีมีอยู่คู่ชั่ว               ติดตัวกลั้วอิงอาศัย
                  ทำดีดีช่วยอวยชัย            ทำชั่วชั่วให้ใจตรม
                  ผลดีนี้นำความสุข             ผลชั่วกลั้วทุกข์ทับถม
                  ดีเด่นเห็นผลชนชม           ชั่วช้าพาจมตรมตรอม
                                                            กำชัย ทองหล่อ
                                                     
                                                             
          ๓กลอนสี่

          กลอนสี่
คือกลอนที่มีวรรค๔คำจังหวะช่วงละ๒คำ      สัมผัส  อนุโลมตามแบบกลอนแปด  เช่น


วันว่างห่างงาน    รำคาญยิ่งนัก

อยู่บ้านผ่อนพัก       สักนิดผ่อนคลาย

๐ หยิบหนังสืออ่าน     ผ่านตาดีหลาย

กลอนสี่ท้าทาย        หมายลองเขียนดู

๐ หากท่านใดว่าง     ร่วมทางฝึกรู้
กลอนได้เชิดชู        อยู่อย่างมั่นคง
๐ เสียงไม่บังคับ      จับสัมผัสส่ง
สี่คำเจาะจง          ลงมือกันเลย.


           ๔กลอนสักวา

            กลอนสักวาคือกลอนที่ใช้ในการเล่นสักวา  ชึ่งเป็นการแต่งกลอนสดแล้วร้องเป็นเพลงโต้ตอบหรือต่อเนื่องกันเรื่องตามที่ได้ตกลงกัน  เช่นการเล่นสักวาเรื่องสังข์ทอง ตนมณทาลงกระท่อมต้องมีผู้แต่งกลอนเป็นบทท้าวสามนต์ เป็น

    กลอนสักวา 1 บทมี 4 คำกลอนหรือ 4 วรรค วรรคแรกหรือวรรคขึ้นจะต้องขึ้นต้นบทด้วยคำว่า " สักวา " และวรรคสุดท้ายหรือวรรคส่งจะต้องลงท้ายด้วยคำว่าเอย ส่วนวรรคที่ 2-3 คือวรรครับและวรรครองนั้น ไม่บังคับตัวอักษร แต่ต้องมีสัมผัสระหว่างวรรคทั้ง 4 อย่างลัษณะของกลอนทั่วไป

สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสนไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอมอาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้มดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
       

     ๑.กลอนดอกสร้อยบทหนึ่งมี
     ๔ คำกลอน หรือ ๘ วรรค 
      วรรคหนึ่งใช้คำ ๖-๘ คำ๒. วรรคแรกที่ขึ้นต้น
    โดยมากมี ๔  คำ  คำที่ ๑
    กับคำที่ ๓ ต้องซ้ำคำเดียว
    กัน  คำที่ ๒ ค้องเป็นคำว่า 
  " เอ๋ย" ส่วนคำที่ ๔  เป็น
     คำอื่นที่รับกัน เช่น 
     นักเอ๋ยนักเรียน
     เด็กเอ๋ยเด็กน้อย
๓.กลอนดอกสร้อยจะต้อง
    ลงท้ายด้วยคำว่า"เอย"เสมอ 
     แต่ถ้าเป็นกลอนดอกสร้อย
     ในบทละครไม่ต้องลงท้าย
      ด้วยคำว่าเอย
๔.สัมผัสและลักษณะไพเราะ
    อื่นๆเหมือนกลอนสุภาพ          


ความรู้
ความเอ๋ญความรู้
ทุกอย่างอาจเป็นครูหากศึกษา
เห็นสิ่งใดใช้สมองลองปัญญา
ใคร่ครวญหาเหตุผลจนแจ้งใจ
อันความรู้เรียนเท่าไหร่ก็ไม่จบ
ยิ่งค้นพบก็ยิ่งมีที่สงสัย
ใช้ความรู้ผิดทางสร้างทุกข์ภัย
รู้จักใช้ทำประโยชน์สุขโสตย์เอย



กลอนบทละคร
        กลอนบทละคร คือคำกลอนที่แต่งขึ้นเพื่อแสดงละครรำ เช่น  พระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์, พระราชนิพนธ์  บทละครเรื่องอิเหนา เป็นต้น
        กลอนบทละครมีลักษณะบังคับเช่นเดียวกับกลอนสุภาพ วรรคหนึ่งมี 6 ถึง 9 คำ แต่นิยมใช้เพียง 6 ถึง 7 คำจึงจะเข้าจังหวะร้องและรำทำให้ไพเราะยิ่งขึ้น กลอนบทละครมักจะขึ้นต้นว่า  เมื่อนั้น  สำหรับตัวละครที่เป็นกษัตริย์หรือผู้มีบรรดาศักดิ์สูง   บัดนั้น  สำหรับตัวละครที่เป็นเสนาหรือคนทั่วไป    มาจะกล่าวบทไป  ใช้สำหรับนำเรื่อง  เกริ่นเรื่อง
แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
จากบทเรียนภาษาไทย วิวิธภาษา เรื่อง พอใจให้สุข

คำสั่ง  ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
      ๑.    บทประพันธ์นี้แต่งขึ้นในขณะที่ผู้ประพันธ์อายุเท่าไร

                  ก.    ๑๖      ปี 
                  ข.    ๑๘      ปี           
                         ค.    ๒๐      ปี        
                  ง.    ๒๕      ปี        

       

     ๒.แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว  จงเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา”  

            คำว่า   “สกาว” มีความหมายตรงกับข้อใด
                 ก. ขาว   สะอาด  
                 ข. ความรื่นเริง  
                 ค. ทำให้งาม  
                 ง. ดวงเดือน           

       ๓. ผู้แต่งบทประพันธ์พอใจให้สุขคือ

                 ก. ชมัยภร  แสงกระจ่าง   
                ข. ศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา  รักษมณี
                ค. ศาสตราจารย์กิตติคุณฐะปะนีย์   นาครทรรพ     
                ง. ศาสตราจารย์ ดร.อรรถ   นาครทรรพ

    .ถือสันโดษบำเพ็ญให้เด่นดี   ในสิ่งที่เราเป็นเช่นนั้นเทอญ”   

     คำประพันธ์นี้ตรงกับคำสอนในข้อใด    ของพระพุทธเจ้า
                ก.  เห็นกงจักรเป็นดอกบัว  
            ข. รู้เขารู้เราแล้วท่านจะสุข
            ค. จงพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่   
            ง. รักดีหามจั่ว  รักชั่วหามเสา

  แม้มิได้เป็นนุชสุดสะอาง   จงเป็นนางที่มิใช่ไร้ความดี”  

       สัมผัสบังคับของคำประพันธ์นี้คือ
            ก. นุช – สุด  
            ข.  ใช่ – ไร้  
            ค.  ที่ – ดี 
            ง. (สะ)  อาง – นาง

๖.  จากคำประพันธ์ข้อ ๔  คำว่า สันโดษ”  มีความหมายตรงกับข้อใด

            ก. ความมักน้อย       
            ข. ประพฤติปฏิบัติ    
            ค. ถือตัวหยิ่งในเกียรติของตนเอง

                 ง. ความรื่นเริง ความยินดี

    ๗.  “แม้มิได้เป็นหงส์ทะนงศักดิ์ ……………………………….”  
      ควรเติมวรรคใดในคำประพันธ์ดังกล่าว
           ก. ก็จงเป็นวันแรมที่แจ่มจาง  
           ข. ก็จงรักเป็นโนรีที่หรรษา
           ค. จงพอใจจอมปลวกที่แลเห็น  
            ง. ถือสันโดษบำเพ็ยให้เด่นดี       

๘. แม้มิได้เป็นนุชสุดสะอาง  จงเป็นนางที่มิใช่ไร้ความดี”  .

       สำนวนใดตรงข้ามกับคำประพันธ์นี้ มากที่สุด
          ก. เจอไม้งามยามขวานบิ่น   
          ข. กระดังงาลนไฟ
          ค. เรียบร้อยราวกับผ้าพับไว้  
          ง. สวยแต่รูปจูบไม่หอม

๙. จากคำประพันธ์ ข้อ ๘  สัมผัสพยัญชนะในข้อใดเป็นสัมผัสใน

         ก.  แม้ – มิ  ,  สุด – สะ(อาง)  
         ข. สุด – สะ(อาง) นาง – นุช ได้ – ดี
         ค.  แม้ – มิ,   นุช – สุด   
         ง. แม้ – มิ,  นุช – นาง,  ได้ – ดี


๑๐. ข้อใดมีความหมายเหมือนคำว่า นุช”  ใน แม้มิได้เป็นนุชสุดสะอาง”  ทุกคำ

          ก.  อรไท  อนงค์  อาชา  อัสดร  
          ข. นารี   กัลยา  กัญญา  พารณ
          ค. อนางค์  พธู  กัลยา  กัญญา  
          ง. อรไทย  อิสตรี  สินธพ  นภา

บันทึกท่องโลก


วิภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง บันทึกท่องโลก


                                                                             บันทึกท่องโลก                       
                   การเขียนบันทึกควรใช้ถ้อยคำภาษาที่สุภาพแม้จะเป็นบันทึกส่วนตัว..                                                                       การนำเรื่องราวเหตุการณ์เกี่ยวกับผู้อื่นมาเขียนบันทึกควรพิจารณาให้รอบอบ เช่น ไม่หมิ่นแคลนผู้ใดเพราะอาจเกิดผลกระทบที่ ไม่คาดคิดตามมา...การอ่านบันทึกส่วนตัวของบุคคลอื่นเป็นสิ่งไม่ควรกระทำ ยกเว้นกรณีเจ้าของบันทึกนั้นอนุญาตด้วยความเต็มใจ
 เราพยายามจะเก็บสะสมงานพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่เป็นการท่องเที่ยวให้ครบ
ก็เลยเจียดเงินที่ได้รับเป็นค่าใช้จ่าย ค่อยๆ ทยอยซื้อจากงานหนังสือแต่ละปีเป็นต้นมา
จนถึงทุกวันนี่ ที่ทำมาหากินเองแล้ว ก็ยังเก็บไม่ครบ แล้วก็ยังอ่านไม่ครบด้วยล่ะ
บันทึกการเดินทางของพระองค์ท่าน ย่อมไม่เหมือนบันทึกการท่องเที่ยวของนักเดินทางที่เราได้อ่าน
เพราะการเดินทางของพระองค์ คือ การศึกษาดูงาน และทรงนำสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยได้ กลับมาสานต่อผ่านโครงการต่างๆ
และการที่ได้อ่านงานพระราชนิพนธ์ เราจะได้เห็น ได้เที่ยว ในสถานที่บางแห่งที่นักท่องเที่ยวธรรมดาๆ อย่างเราๆ ท่านๆ ไม่สามารถเห็นได้
ในคำนำของหนังสือเล่มนี้ ทรงพระราชนิพนธ์ถึงการเดินทางไว้ว่า 
      "
ข้าพเจ้าเองยังมีความรู้สึกว่า การสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (รวมทั้งสถานที่) ด้วย 'อินทรีย์ทั้ง 6' คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ยังมีความสำคัญต่อความรู้สึก ทำให้เกิดความรู้ที่แท้จริง ...
รัฐบาลนิวซีแลนด์สามารถจัดให้ข้าพเจ้าไปแอนตาร์กติกาได้ แต่ต้องเป็นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นต้นฤดูร้อนของเขา ถึงแม้จะรู้สึกว่าระยะเวลานี้เป็นช่วงที่ข้าพเจ้าน่าจะทำงานช่วยบ้านเมืองมากกว่าจะไปต่างประเทศ แต่เมื่อได้คุยกับท่านเอกอัครราชฑูตแล้ว ก็รู้สึกว่าการเดินทางเช่นนี้เป็นสิ่งที่ดึงดูใจ และทน 'ความเย้ายวนนี้ไม่ไหว...
       'การผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ของข้าพเจ้าจึงเกิดขึ้น แม้ว่าจะเทียบไม่ได้กับนักสำรวจเช่น อามันเสน หรือกัปตันสก็อต (นักสำรวจอังกฤษ) แม้น้กวิทยาศาสตร์ของชาติต่างๆ ที่ทำงานอยู่ ณ ที่นั้น ในปัจจุบันจะมีที่พักที่ดีกว่าเก่า แต่ก็นับว่ายังยากสำหรับข้าพเจ้า ซึ่งเคยอยู่แต่ในที่อากาศอบอุ่นและสบายในการเดินทางไปแสวงหาความรู้และประสบการณ์ที่แอนตาร์กติกา...."                     
                                                                      

                                     การเขียนบันทึก

           เรื่องที่ยกมาข้างต้น คัดมาจากบันทึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศนิวซีแลนด์และขั้วโลกใต้หรือแอนตาร์กติกา(อ่าน แอน-ต๊าก-ติ-ก้า)พระราชนิพนธ์ในสมเด็จ-พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนที่ยกมานี้เป็นตอนที่เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรถ้ำน้ำแข็ง ที่ Mt. Erebus Glacier Tougue ซึ่งทำให้ทรงตื่นตาตื่นใจมาก
การเขียนบันทึกเป็นรูปแบบการเขียนอย่างหนึ่ง มีหลายลักษณะ อาจมีขนาดสั้นหรือยาว อาจเขียนในรูปจดหมาย อนุทิน หรือเขียนเป็นแบบใดก็ได้บันทึกอาจแบ่งคร่าวๆ ตามวัตถุประสงค์การบันทึกได้ ดังนี้
1.  บันทึกส่วนตั ผู้บันทึกจดบันทึกกิจวัตรของตนเอง บันทึกประสบการณ์หรือความรู้สึกนึกคิดของตนไว้อ่านเองเพื่อความพึงพอใจ เพื่อกันลืม หรือเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ เช่น บันทึกประจำวัน บันทึกการเดินทาง
2. บันทึกแจ้งข้อมูลข่าวสาร เป็นบันทึกเพื่อแจ้งเรื่องหรือกิจธุระแก่บุคคลภายในครอบครัวหรือแก่บุคคลอื่นๆ เป็นการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ กึ่งทางการหรือเป็นทางการก็ได้ เช่น บันทึกสื่อสารภายในครอบครัว บันทึกการนัดหมายระหว่างบุคคล บันทึกข้อความทางโทรศัพท์ บันทึกแจ้งหรือเสนอให้ทราบหรือสั่งการให้ถือปฏิบัติภายในหน่วยงานเอกชนและราช

3. บันทึกที่เป็นทางการ อาจเป็นบันทึกของหน่วยงานต่างๆ หรือบันทึกของทางราชการ เช่น บันทึกการตรวจการอยู่เวรยาม

สิ่งที่ควรคำนึงในการเขียนบันทึก

              1.  บันทึกแต่สิ่งที่เป็นความจริง ไม่บิดเบือนความจริง
              2.  เขียนด้วยสำนวนภาษาของตนเองเป็นภาษาง่ายๆ มีระเบียบ
              3.  บันทึกตามลำดับเหตุการณ์
              4.  บันทึกเฉพาะสาระสำคัญว่า ใคร ทำอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทำไม


              ตัวอย่างบันทึก                                                                                                                                          บันทึกข้อความจากโทรศัพท์ 

             16 ต.ค.53                         15.00น.
              เรียน คุณปัทมา
                       คุณมาลัย ร้านดอกไม่ โทรมาเรื่องดอกไม่ที่จะใช้วันเสาร์นี้ขอให้โทรกลับด่วน
              ที่ 0-2525-7346        
                                                                                           สมทรง

                                                  บันทึกเพื่อติดต่อนัดหมาย
            
    เรียน อาจารย์ที่เคารพ
             ผมมาขอคำปรึกษาจากอาจารย์ เรื่อง รายงานหนังสืออ่านนอกเวลาเพื่อจะได้จัดทำให้ดีที่สุด                                                                                                                                                                                                           เท่าที่จะทำได้ขอความกรุณาจากอาจารย์บอกเวลาที่อาจารย์สะดวกและอนุญาตให้เรียนหาได้ด้วยครับ


                                                                                    ด้วยความเคารพ

                                                          จริงใจ แสนดี

                                                        20กันยายน2553


 การเขียนบันทึกลักษณะนี้ แม้จะเป็นบันทึกขนาดสั้นก็ต้องเขียนข้อความให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ส่งสาร ความต้องการของผู้ส่สาร และวันที่ส่งสารให้ชัดเจนครบถ้วน เพื่อให้การสื่อสารได้ผลสมบูรณ์

                                                                           บันทึกการเดินทาง

  การเขียนประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นการเขียนขนาดยาว ผู้บันทึกจะเล่าเรื่องราวการเดินทางของตนถ่ายทอยแก่ผู้อ่านที่ไม่ได้เดินทางไปด้วย ผู้บันทึกจะบอกว่าเดินทางเมื่อใด  ไปที่ใด  ได้พบใคร  ประทับใจเรื่องใดบ้าง  ดังตัวอย่างบันทึกการเสด็จประพาสขั้วโลกใต้ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีที่ยกมาข้างต้น ซึ่งทรงเล่าว่าทรงประทับใจถ้ำน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้มาก
   บันทึกการเดินทางที่ดี คือ บันทึกที่บรรยายความได้ชัดเจน เป็นลำดับขั้นตอนทำให้ผู้อ่านติดตามการเดินทางได้ตลอด พรรณนาสิ่งใดก็ละเอียดลออ ทำให้เห็นภาพได้แจ่มชัด นอกจากพระราชนิพนธ์ เรื่อง แอนตาร์กติกา หนาวหน้าร้อย และพระราชนิพนธ์บันทึกการเดินทางในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีอีกหลาย




เรื่องแล้ว ยังมีตัวอย่างบันทึกการเดินทางที่มีลักษณะดังนี้อีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีผู้นิยมมาก คือ พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้านในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว ดังตอนที่คัดเลือกมาลงไว้ต่อไปนี้
                                  คืนที่ 59

                           โฮเตลเดซอัลปส์ เตอริเตอต์ สวิตเซอร์แลนด์ 

                    วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม รัตนโกสินศก 126

  หญิงน้อย

       เวลาก่อน 4 โมงครึ่ง ไปขึ้นรถไฟที่สเตชั่น รถนี้เปลี่ยนใหม่เป็นรถสวิตเซอร์แลนด์ เบาะเป็นกำมะหยี่แดงกว้างขึ้น นอนค่อยสบาย รถออกเวลา 4 โมงครึ่ง มาหน่อยหนึ่งถึงทะเลสาบเรียกว่า ลาโค แมกเคียวรี เป็นทะเลสาบอันหนึ่งในอิตาลีข้างเหนือมีหลายแห่งด้วยกัน ทะเลนี้ไม่สู้กว้างแต่ยาวมาก รถไฟเดินเลียบมาตามข้างทะเลสาบงามเสียจริงๆ แลดูเหมือนตึกลอยอยู่ในกลางน้ำ เกาะเล็กนั้นเรียกว่าเกาะประมง เป็นที่พวกหาปลาอยู่ พ้นจากทะเลสาบขึ้นมาบ้านเรือนเปลียนรูปร่างไปหมด กลายเป็นก่อด้วยหินมุงด้วยกระดานชนวน แต่ไม่ใช้ตัดเป็นเหลี่ยมสักแต่ว่าเป็นแผ่นๆ เมื่อครั้งมาคราวก่อนขึ้นทางเซนต์โคถาด ช่องนี้ยังไม่ได้ใช้ถรสติมลาก เปลี่ยนป็นรถไฟฟ้าเพื่อจะไม่ให้มีควัน แต่ก็ไม่เห็นป้องกันอะไรได้นัก มีกลิ่นเหม็นเป็นกลิ่นถ่าย ซึ่งรถทำงานต่างๆ ทั่วไปในสวิตเซอร์แลนด์เรมีสโนว์หนุ้มยอดขาวอยุ่ทั้งนั้นปากปล่องซิงปลองข้างฝ่ายสวิตเซอร์แลนด์เรียกว่าบริก พอหลุดปากปล่องออกมาก็แลเห็นต้นแม่น้ำโรน แต่เพียงทนั้นจะไม่พอเหตุด้วยสายน้ำไหลเชี่ยวคงจะกัดเซาะเขื่อนพังร่ำไป ตื้นขึ้นมามากเพราะฉะนั้นเขื่อนจึงไม่พัง น้ำในร่องก็ลึกอยุ่เสมอ

                                                                                                                             จุฬาลงกรณ์ จปร.

                                                                                                                           
                                      บันทึกเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์

        การเขียนบันทึกประเภทนี้มักมีลักษณะเป็นบันทึกขนาดยาวเช่น เรื่อง การตั้งสถานปาสเตอร์รักษาโรคพิษสุนัขบ้า ที่สมเด็จพระเจ้าบรนวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบันทึกไว้ในนิทานโบรานคดี มีความดังต่อไปนี้
  ในปี พ.ศ. 2454 เกิดเหตุการณ์น่าสลด เมื่อหม่อมเจ้าหญิงบันลุศิริสาร ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ถูกสุนัขบ้ากัด และต่อมามีอาการโรคพิษ-สุนัขบ้ากำเริบ จนถึงแก่ชีพิตักษัยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งในขณะนั้นการรักษาโรคพิษสุนัขบ้าด้วยวิธีการแพทยแผนใหม่ยังไม่มีในประเทศ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต แล้วประกาศบอกบุญเรี่ยไร เงินทุนที่จะจัดตั้ง สถานปาสเตอร์ขึ้นในกรุงเทพ มีผู้มีจิตศรัทธาช่วยกันเป็นจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จึงได้จัดตั้งขึ้นที่ตึกของกระทรวงมหาดไทย ถนนบำรุงเมือง ใกล้โรงเลี้ยงเด็ก (บริเวณที่เป็นสถานที่ตรวจโรคปอด กองควบ-คุมวัณโรคในปัจจุบัน ) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน2456 ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทย ทำการผลิตวัคซีนและให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จนกระทั่งเดือนสิงหาคม พ.ศ.2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้กิจการของสถานปาสเตอร์ มาสังกัดสภากาชาดไทยภายใต้ชื่อกองวิทยาศาสตร์ สภากาชาดไทย แต่ยังคงอาศัยสถานที่เดิม เป็นที่ทำการชั่วคราว
       เนื่องในการถวาย พระราชทานเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนึงถึงพระคุณูปการของสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงพระราชปรารภใคร่จะสร้างสิ่งซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์ให้ยั่งยืนอยู่ในประเทศไทย เพื่อเป็นที่เชิดชูพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมราชชนนี คู่กันกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อันเป็นสถานที่เฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมชนกาธิราช จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์มอบให้สภากาชาดไทย เพื่ออำนวยการสร้างตึกหลังใหญ่หลังหนึ่งที่มุมถนนสนามม้าติดต่อกับถนนพระราม เพื่อใช้เป็นที่ทำการแห่งใหม่ของกองวิทยา-ศาสตร์ สภากาชาดไทย
       พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสถานที่แห่งใหม่นี้ว่า " สถานเสาวภา " และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ ธันวาคม พ.ศ.2465

                                     บันทึกเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในชีวิต

บันทึกประเภทนี้ ผู้เขียนจะเล่าประสบการณ์ที่ประทับใจเป็นเหตุการณ์สำคัญบางตอนในชีวิต และเป็นอุทาหรณ์เตืองใจผู้อ่านบันทึก ความสั้นยาวของบันทึกอยู้ที่ผู้เขียนว่าจะบรรยายหรือพรรณนาเหตุการณ์ละเอียดลออเพียงใดดังตัวอย่างต่อไปนี้ เช่น

comment